หน่วยงานหน่วยงาน

หน่วยงาน

ประวัติของ ศพฐ.10

เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2482 มีการตั้งหน่วยสาขาทะเบียนพิมพ์ลายนิ้วมือสังกัดกองกำกับการตรวจ กองบังคับการตำรวจภูธร เขต 9 มีฐานะเป็นเพียงหน่วยงานเน้นหนักทางด้านทะเบียนพิมพ์ลายนิ้วมือ 10 นิ้ว

ปี พ.ศ. 2500 องค์การบริหารวิเทศกิจสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย(USOM) ได้สนับสนุนงบประมาณปรับปรุงงาน ด้านวิทยาการตำรวจ โดยส่งผู้เชี่ยวชาญจาก เอฟ บี ไอ มาทำการฝึกอบรมให้ความรู้ในทางวิทยาการหลายด้านและได้เปลี่ยนระบบ พิมพ์ลายนิ้วมือจากระบบ เฮนรี่ เป็นระบบ เอฟ บี ไอ

ปี พ.ศ. 2520 กองพิสูจน์หลักฐานซึ่งขณะนั้นสังกัด กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ได้จัดทำโครงการปรับปรุงด้านวิทยาการในส่วนภูมิภาค ได้พิจารณาบรรจุแต่งตั้งข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรที่ผ่านงานจากกองพิสูจน์หลักฐานมาแล้ว จำนวน 2 นาย มาประจำที่หน่วยงานนี้ ซึ่งในขณะนั้นยังสังกัดกองบังคับการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจภูธร 4 จังหวัดสงขลา

ปี พ.ศ. 2521 จัดตั้งกองกำกับการวิทยาการ สังกัดกองบังคับการตำรวจภูธร 12 จังหวัดสงขลา

ปี พ.ศ. 2526 กรมตำรวจได้มีคำสั่งให้ย้ายกองกำกับการวิทยาการไปตั้ง ณ ตึกบรรเทาสาธารณภัย อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา เพื่อให้เป็นหน่วยงานในสังกัดของกองบังคับการตำรวจภูธร 12 รวมที่ตั้ง ณ ที่ทำการเดียวกัน มีพื้นที่รับผิดชอบตามที่ กองบังคับการตำรวจภูธร 12 รับผิดชอบคือ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัด ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลาและสตูล

ปี พ.ศ. 2535 – 2536 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย(ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2535 และระเบียบ กรมตำรวจว่าด้วยการกำหนดหน้าที่การงานในราชการกรมตำรวจ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2536 จัดตั้งสำนักงานวิทยาการกรมตำรวจ และจัดตั้งกองบังคับการวิทยาการขึ้น 4 ภาค แต่ละภาคมีหน้าที่ควบคุมบริหารงานกองกำกับการวิทยาการเขต ภาคละ 3 กองกำกับการ โดยแยกกองกำกับการวิทยาการออกจากกองบังคับการตำรวจภูธร 12 มาเป็น กองกำกับการวิทยาการ เขต 12 ขึ้นตรงต่อกองบังคับการวิทยาการภาค 4 มีพื้นที่รับผิดชอบ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เช่นเดิมและแบ่งแยกงานขึ้นใหม่

ปี พ.ศ. 2537 – 2538 ก.ตร.ได้ประชุมครั้งที่ 7/2537 เมื่อ 13 ก.ค. 2537 ให้ตัดโอนตำแหน่งและยุบวิทยาการจังหวัด ที่มีที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเดียวกันกับกองกำกับการวิทยาการเขตและต่อมา ก.ตร.ได้มีมติรับทราบและอนุมัติเปลี่ยนแปลงการกำหนด ตำแหน่งในหน่วยงาน สวท.(ก.ตร.ตำแหน่งที่ได้ประชุม ครั้งที่ 7/2537 เมื่อ 13 ก.ค. 2537) นั่นคือยุบวิทยาการจังหวัดยะลาเปลี่ยน มาเป็น งาน 4(ตรวจสถานที่เกิดเหตุและถ่ายภาพ)และ สวท.ได้มีคำสั่งที่ 63/2538 และ 68/2538 ลง 15 ส.ค. 2538 แต่งตั้งข้าราชการตำรวจวิทยาการจังหวัดที่มีที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเดียวกันกับกองกำกับการวิทยาการเขต เป็น ข้าราชการตำรวจงาน 4 กองกำกับการวิทยาเขต 12

ปี พ.ศ. 2548 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2548 และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็น กองบังคับการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ปี พ.ศ. 2552 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2548 และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็น กองบังคับการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2548 เป็นผลให้ วิทยาการเขต 45 เปลี่ยนเป็น ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 10

หมวดหมู่รอง

  • แนวคิดผู้บังคับบัญชา (2)

    แนวคิดผู้บังคับบัญชา

    สถานที่เกิดเหตุ 200

            ปัญหาความไม่สงบของจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา (เทพา จะนะ นาทวีและสะบ้าย้อย ) ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงได้พยายามก่อเหตุร้ายต่างๆ เช่น การวางระเบิด การลอบยิง การวางเพลิง รวมถึงการก่อกวนในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ การวางระเบิดปลอม การแขวนป้ายผ้าโจมตีฝ่ายตรงข้าม สิ่งต่างๆเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการเสียชีวิต การบาดเจ็บ ทั้งทางกายและจิตใจ รวมถึงสูญเสียทรัพย์สินตลอดจนลดทอนความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในพื้นที่อย่างประเมินค่าไม่ได้

              สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ เป็นหน่วยงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีหน่วยงานปฏิบัติงานกระจายอยู่ในทุกจังหวัดของประเทศไทย โดยในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันได้แก่ จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จะอยู่ในความรับผิดชอบของ ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 10 จังหวัดยะลา ซึ่งมีหน่วยงานในสังกัด 2 หน่วยงานคือ พิสูจน์หลักฐานปัตตานีและพิสูจน์หลักฐานนราธิวาส มีภารกิจหลักในการนำวิทยาศาสตร์หรือนิติวิทยาศาสตร์ มาใช้ในการวิเคราะห์พยานหลักฐานที่ได้จากสถานที่เกิดเหตุ หรือใช้พิสูจน์บุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีต่างๆ ทำให้สามารถอธิบายพฤติการณ์ เชื่อมโยงเหตุการณ์ และเป็นพยานหลักฐานยืนยันผู้กระทำความผิดตามหลักกฎหมาย

              Conflict in Thailand’s three southern border provinces of Yala, Pattani, and Narathiwat and four  districts of Songkhla (Thepha,Chana, Na Thawi, and Saba Yoi) has persisted for a decade. The conflict has been marked by violent incidents perpetrated by insurgents and other elements,including bombings, assassinations, and arson, as well as associated activities such as planting fake bombs and hanging banners and posting other messages that aim to offend or provoke opponents. These tragic events have resulted in the loss of thousands of lives, physical injuries and mental trauma, damage to property, and economic losses.

           The Office of Forensic Science Police is a specialty unit of the Royal Thai Police. It maintains operational unit in every province of Thailand. The Police Forensic Science Center 10 (PFSC 10) Yala province is responsible for criminal and security cases in Yala, Pattani, and Narathiwat, working in close cooperation with the Police Forensic Science units in Pattani, and Narathiwat provinces. Its principal mission is to use forensic and other scientific techniques to analyze evidence collected from crime scenes and/or to identify perpetrators in criminal cases. Forensic evidence can help investigators to understand the events behind a crime and to identify offenders and bring them to justice.

  • ประวัติ ศพฐ.10 (0)
  • โครงสร้างองค์กร (1)
  • สื่อเผยแพร่ (1)
  • กลุ่มงานในสังกัด (1)
  • ผู้บังคับบัญชา (1)
  • วิสัยทัศน์ พันธกิจ (1)
ผู้บังคับบัญชา

                                                                          พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ        ผบช.สพฐ.ตร.

 

       พล.ต.ท.ดิเรก ธนานนท์นิวาส

          ที่ปรึกษา (สบ ๘) สพฐ.ตร.

   

                                 พล.ต.ต.วิสูตร นาคจู        รอง ผบช.สพฐ.ตร.(๔)    รรท.ผบก.ศพฐ.๑๐

 

ตรวจสอบผลการตรวจพิสูจน์

ประชาสัมพันธ์/ประกาศทั่วไป

Warning: include_once(analyticstracking.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/scdcforens/domains/scdc10.com/public_html/templates/pjo_advancedyards_free/index.php on line 24 Warning: include_once(): Failed opening 'analyticstracking.php' for inclusion (include_path='.:/usr/local/php53/lib/php') in /home/scdcforens/domains/scdc10.com/public_html/templates/pjo_advancedyards_free/index.php on line 24